Hybrid Working การทำงานยุคใหม่ วัดผลการทำงานได้ แบบรายบุคคล

 
 

ความเชื่อที่ผิดประการหนึ่งที่เราควรปรับมุมมองใหม่ คือความเชื่อที่ว่า “เราจะได้กลับไปทำงานในรูปแบบเดิมในอนาคตอันใกล้” ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว รูปแบบการทำงานแบบ Hybrid Working ได้กลายเป็นเทรนด์การทำงานในปัจจุบัน และรูปแบบสำหรับอนาคตไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าองค์กรของคุณจะพร้อมหรือไม่ก็ตาม ??

เทรนด์การทำงานในอนาคตจำเป็นมากน้อยแค่ไหนสำหรับองค์กร ด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมีความจำเป็นที่องค์กรต้องยกระดับการทำงานไปเป็นรูปแบบ Hybrid เพราะไม่คุ้มที่จะรอให้ทุกสิ่งทุกอย่างกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ที่รังแต่จะสูญเสียโอกาส และความก้าวหน้าที่อาจสร้างความเสียหายที่ไม่อาจประเมินค่าได้

7 ข้อควรพิจารณาเพื่อการตัดสินใจเดินหน้าองค์กรของคุณด้วย Hybrid Working

  1. ทำไมองค์กรต้องปรับรูปแบบการทำงาน จากสถานการณ์ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา เหตุใดองค์กรชั้นนำจึงลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อการทำงานแบบ Remote Working และยกระดับไปสู่ Hybrid Working ทั้งที่หลายๆองค์กรยังรอคอยเพื่อกลับสู่สภาวะปกติ นั่นเพราะธุรกิจสำหรับวันนี้ ไม่ใช่ปลาใหญ่กินปลาเล็กอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นยุคของปลาเร็ว ใครเร็วกว่าและพร้อมก่อนคือผู้ที่ได้เปรียบในธุรกิจ

  2. Hybrid Working เป็นทางเลือก หรือทางรอดขององค์กร นับเป็นวิกฤตการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ ที่มีการลดจำนวนพนักงาน ลดเงินเดือน เลิกจ้าง เลิกกิจการจำนวนสูงสุดในประวัติการณ์ หากหันไปมองรอบข้าง เราจะเห็นหลายธุรกิจไม่ได้ไปต่อ บางกิจการไม่สามารถปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่ผันผวนอย่างรวดเร็วได้ ไม่ใช่แค่ภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรม ระบบการศึกษาทุกระดับชั้น ตั้งแต่ปฐมวัย ไปจนถึงระดับอุดมศึกษา ก็สั่นสะเทือนไปตามๆกัน ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ ที่เราจะเห็นสถาบันการศึกษาจากอีกฝั่งทวีปเข้ามารุกคืบ กวาดนักเรียน-นักศึกษาไทยเข้าระบบการศึกษากันถึงหน้าจอมือถือ ตอกย้ำให้เห็นว่า สถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงระดับโลก มีความพร้อมที่จะเปิดประตูให้เข้าเรียนได้ผ่านออนไลน์แบบไร้พรมแดน ด้วยการใช้ระบบ LMS แบบเต็มรูปแบบ พร้อมกับให้การรับรองวิทยฐานะ นี่คือภาพของความพร้อม ที่องค์กรและการศึกษาไทยล้วนต้องกลับมาทบทวนและปรับตัวให้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อโอกาสในการก้าวต่อ

  3. องค์กรของเรามีสุขภาพทางดิจิทัล และบุคลากรที่พร้อมสำหรับการทำงานแบบทางไกลหรือไม่ หากมองเห็นการลดและเลิกจ้างงาน จะเห็นอีกภาพหนึ่งคือ มีการจ้างงานในอัตราสูงสำหรับกลุ่มแรงงานที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี ที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ด้วยคุณสมบัติเหมาะสมกับงานแบบ Work Anywhere มีความยืดหยุ่นสูง และปรับตัวในการทำงานได้อย่างดี อีกทั้งยังมีความสามารถในการใช้เครื่องมือ ตลอดจนเทคโนโลยีในการทำงานผ่านทางออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  4. วัดผลการทำงานได้อย่างไร เมื่อพนักงานไม่เข้าที่ทำงาน CEO ในหลายองค์กร ขานรับแนวทางการทำงานแบบ Hybrid Working เพราะทำให้เห็นว่าใครคือคนทำงานตัวจริง อีกทั้งยังสามารถวัดผลลัพท์ได้ ผ่านการทำงานแบบ Agile ที่มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่คล่องตัว พนักงานจะได้รับความเป็นอิสระในการตัดสินใจว่าจะทำงานที่ไหน เมื่อไร โดยวัดผลงานจากเนื้องาน ไม่ได้ประเมินว่าเข้ามาทำงานในสถานที่หรือไม่ ซึ่งตอบโจทย์การทำงานแบบ Hybrid Working ซึ่งอาจใช้แพลตฟอร์มต่างๆ เข้ามารองรับการทำงาน เช่น การแชร์งานบนเทมเพลตที่สนับสนุนต่างๆ บนผืนผ้าดิจิทัลที่ไร้ขีดจำกัดอย่าง Miro ที่ทำให้มองเห็นเนื้องาน และเจ้าของงานได้ชัดเจน หมดยุคคนทำงานไม่ได้นำเสนองานอีกต่อไป เพราะเราสามารถมองเห็น Owner Account ที่เป็นเจ้าของไฟล์งาน หรือผู้ที่นำผลงานมาวางไว้ได้

  5. ดีกว่า แย่กว่า หรือเท่ากัน ความเท่าเทียมและความเสมอภาคในการทำงาน เกิดขึ้นได้ที่นี่ นับเป็นประวัติศาสตร์ของการทำงาน และการเรียนเลยก็ว่าได้ ที่ทุกคนในพื้นที่การทำงานแบบ Hybrid Workplace จะรู้สึกถึงความเท่าเทียมกัน หากประชุมงานหรือเรียนผ่านหน้าจอ จะไม่มีใครถูกจัดเป็นพวกหน้าชั้น หรือหลังห้อง เรามองเห็นทุกคนได้ผ่านระนาบ และในพื้นที่นี้ ทุกคนจะได้รับความเป็นธรรมในการทำงาน หากงานนั้นเป็นของเรา เรามีสิทธินำเสนอ ปิดตำนานที่หัวหน้างานมาใช้งานลูกน้องแล้วนำแฟ้มผลงานเข้าพบ CEO วันนี้จะขโมยซีนเจ้าของผลงานไม่ได้อีกต่อไปแล้ว จากบทความใน Harvard Business Review มีบางตอนเขียนไว้ได้อย่างน่าสนใจว่าด้วย ในห้องประชุมออนไลน์หัวหน้างานสามารถสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมได้มากกว่าพื้นที่การทำงานแบบเดิม โดยเรียกให้ผู้อยู่ในที่ประชุมพูดอภิปราย ตอบข้อซักถาม รวมถึงกำหนดกิจกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ ที่สามารถสร้างความสนิทสนมให้เกิดขึ้นได้ ช่วยยืนยันว่าวัฒนธรรมองค์กรไม่ได้หายไปจากการทำงานแบบ Hybrid Working อย่างที่หลายคนกังวลใจ

  6. ความสุขในการทำงานเกิดขึ้นได้ เมื่อองค์กรมองเห็นความต้องการที่แท้จริงของพนักงาน รักษาระดับความสุข และเสริมสร้างสุขภาพกายและใจให้กับพนักงาน เมื่อไหร่ก็ตามที่องค์กรยืนยันจะให้พนักงานกลับเข้าที่ทำงาน สิ่งหนึ่งที่จะมองข้ามไม่ได้ คือความรู้สึกทางด้านจิตใจของพนักงาน เพราะความกังวลใจมีผลต่อการทำงาน

  7. เครื่องมือที่ใช่ ย่อมให้ผลลัพธ์ตามเป้าหมาย องค์กรที่พร้อมด้วยเทคโนโลยี และเครื่องมือในทำงานแบบ Hybrid Working จะสามารถวัดผลและปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการหากองค์กรมีแนวทางที่จะก้าวไปข้างหน้า เพียงหาวิธีและเครื่องมือในการเชื่อมต่อระบบการทำงานในสำนักงานให้สามารถทำงานได้ทุกที่ ก็สามารถประเมินผลงานของพนักงานแบบรายบุคคลได้ ตัวอย่างเช่น ในระหว่างการประชุมผ่าน Zoom และการใช้ระบบโทรศัพท์ Zoom Phone สามารถดึงข้อมูลการใช้งาน ตลอดจนวิดีโอหรือเสียงที่บันทึกไว้บนคลาวด์ นำมาประเมินการใช้งานย้อนหลังได้ โดยมองเห็นในระดับ User ว่ามีการใช้งานมากน้อยแค่ไหน ใครอยู่ในสาย ผู้เพื่อนำมาพัฒนาศักยภาพในทำงานของพนักงานได้ทั้งแบบรายบุคคล และในระดับแผนก เป็นต้น

การวิเคราะห์ของ Gartner มีการระบุว่าพนักงานที่ทำงานแบบระยะไกล หรือการทำงานแบบ Hybrid Working นั้นสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับที่เท่าเทียมกันเมื่อเปรียบเทียบกับพนักงานที่ทำงานในสำนักงาน แม้ว่าในหลายๆองค์กรยังมีความเชื่อว่าการทำงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพสูงกว่า และมีแนวโน้มว่ายังมีการประเมินผลงานให้คนที่มาทำงานที่ทำงานในระดับที่ดีกว่าคนที่ทำงานจากที่บ้าน ซึ่งเป็นทัศนคติและความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง หากในความเป็นจริงประสิทธิภาพระหว่างทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน

รับคำแนะนำเพื่อออกแบบการทำงานแบบ Hybrid Working
กรอกข้อมูลเพื่อรอการติดต่อกลับ https://bit.ly/36dutGF
Call Center 1605