อย่าบอกว่าคุณไม่เกี่ยว! Geopolitical Conflict กับสงครามไซเบอร์ใกล้ตัว

 

“มือถือของคุณอาจเป็นแนวหน้าของสงครามข้อมูล - รู้ทัน! Geopolitical Conflict เมื่อความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ลามสู่โลกไซเบอร์ และสิ่งที่หน่วยงาน องค์กร และคนทั่วไปควรทำตั้งแต่วันนี้”

ในโลกที่ความขัดแย้งทางการเมืองและอำนาจระหว่างประเทศทวีความซับซ้อนขึ้น “Geopolitical Conflict” หรือ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่สงครามทางทหาร หรือ การกดดันทางเศรษฐกิจ แต่วันนี้มันลุกลามมาถึงโลกไซเบอร์ เป็นดั่งสมรภูมิรบที่ไม่มีพรมแดน และใกล้ตัวกว่าที่คิด

นั่นเพราะอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมถึงกัน ทำให้ข้อมูลเดินทางรอบโลกได้ด้วยเวลาไม่กี่วินาที ความขัดแย้งเหล่านี้จึงลามมาถึงมือถือและหน้าจอของพวกเราทุกคนได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะจากข่าวปลอม, วิดีโอปลอม, รูปปลอม หรือ บอทในโซเชียลมีเดีย

 

Geopolitical Conflict หรือ ความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ คืออะไร?
เกี่ยวอะไรกับโลกไซเบอร์?

 

Geopolitical Conflict คือ การแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ระหว่างประเทศ ใครได้ครองแหล่งพลังงาน ใครคุมเส้นทางการค้า ใครยึดดินแดนสำคัญได้ ใครมีเทคโนโลยีสุดว้าว หรืออำนาจทางการทหารที่แข็งแกร่ง คนคนนั้นหรือประเทศนั้นก็จะได้เปรียบ เหมือนเกมวางหมากที่ผู้ชนะมักได้ครองกระดาน โดยในอดีตภาพความขัดแย้งในสนามรบ ไม่ว่าจะเป็นบนดินแดนหรือทะเล มักเป็นภาพทหารยืนประจันหน้า มีปืน รถถัง มีการปิดเส้นทางค้าขาย ตัดเสบียง ตัดน้ำมัน เพื่อกดดันฝ่ายตรงข้าม ไปจนถึงเครื่องบินทิ้งระเบิดสร้างความเสียหายเป็นจุด ๆ

แต่วันนี้สนามรบไม่ได้อยู่แค่ชายแดน เพราะโลกออนไลน์เชื่อมถึงกันหมด ข้อมูลข่าวสารกลายเป็นอาวุธใหม่ กระสุนถูกเปลี่ยนเป็นข่าวปลอม คลิปปลอม ข้อมูลที่ถูกบิดเบือนกลายเป็นอาวุธร้ายแรงที่เปลี่ยนความคิดคนนับล้าน ลองนึกภาพ...เหมือนมีคนมาปล่อยข่าวลือหน้าหมู่บ้าน ถ้าข่าวลือแรงพอ คนในหมู่บ้านก็แตกตื่น เชื่อผิด ทะเลาะกันเอง แค่นี้ก็วุ่นวายแล้ว แล้วถ้าในระดับประเทศจะส่งผลแค่ไหน นี่เองจึงเป็นอีกเหตุผลที่ข่าวเดียวก็สามารถ “บึ้ม” ความเชื่อมั่นของผู้คนทั้งสังคมได้พร้อมกัน

อย่าบอกว่าคุณไม่เกี่ยว?

หากวันนี้คุณมีมือถือ มีโซเชียลมีเดีย มีแหล่งข่าวสารที่ดูเป็นประจำ นั่นแหละคือประตูที่นำสงครามข้อมูลเข้ามา มือถือสร้างข่าวปลอมได้ในไม่กี่นาที และถูกแชร์ต่อเป็นพันเป็นหมื่นเป็นล้านครั้งได้ในไม่กี่ชั่วโมง ยิ่งไปกว่านั้นเทคโนโลยี AI ที่พูดถึงกันในปัจจุบัน บางคนยังดูไม่ออกด้วยซ้ำว่าวิดีโอหรือเสียงนั้น ๆ จริงหรือปลอม

 

 

วิวัฒนาการ "สงครามข้อมูล"

ในแวดวงไซเบอร์น่าจะรู้กันดีว่า “สงครามข้อมูล” เกิดขึ้นมามานานแล้ว โดยมีข้อมูลว่า ในปี 2010 รัฐมหาอำนาจได้พัฒนามัลแวร์เพื่อทำลายโรงงานนิวเคลียร์อิหร่านโดยเฉพาะ นั่นเป็นสัญญาณว่าภัยไซเบอร์ไม่ใช่แค่การแฮกข้อมูล แต่ยังถูกใช้เป็นอาวุธที่กระทบถึงกายภาพได้จริง หรือ เมื่อปี 2016 ข่าวปลอมและกองทัพบอทถูกใช้เป็นเครื่องมือแทรกแซงการเลือกตั้งของสหรัฐฯ ขณะที่ปัจจุบันภาพของ Hybrid War ก็ยิ่งชัดเจนขึ้น จากการผสมผสานรูปแบบของการรบทางเศรษฐกิจและทางทหาร เข้ากับการรบทางไซเบอร์และการบิดเบือนข้อมูล ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น...

- สร้าง “กองทัพบอท” หรือ Troll Farm ซึ่งเป็นบัญชีปลอม มีพฤติกรรมบิดเบือนข้อมูลให้คนหลงเชื่อ

- แฮกเกอร์โจมตี Critical Information Infrastructure หรือ โครงสร้างพื้นฐานข้อมูลสำคัญทางสารสนเทศ ของประเทศ เช่น ระบบไฟฟ้า
โทรคมนาคม สาธารณูปโภค หรือ สาธารณสุข เพื่อทำให้ประชาชนเดือดร้อน

- ใช้ Generative AI สร้างข่าวปลอม, วิดีโอ Deepfake หรือ แม้แต่เสียง (Voice Clone) เพื่อให้เกิดความโกรธและความแตกแยก

หน่วยงานรัฐ | เอกชน | ประชาชน ควรรับมืออย่างไร?

ยิ่งเทคโนโลยีซับซ้อนและฉลาดขึ้น หากเราไม่รู้เท่าทันก็อาจตกเป็นเหยื่อได้ง่าย ๆ มาถึงขั้นนี้สิ่งสำคัญคือ ระดับองค์กรรัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ควรต้อง "ป้องกัน-เฝ้าระวัง-รับมือ" ไปพร้อมกัน โดย...

 
 
 

นอกจากเราทุกคนต้องมีเกราะป้องกันตัวเอง หน่วยงาน และองค์กร

ก็ควรเริ่มต้นมองหาโซลูชันด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่ตอบโจทย์ ได้มาตรฐาน และพร้อมใช้งานได้ทันที นี่ไม่ใช่หน้าที่เฉพาะฝ่าย IT แต่เป็นวัฒนธรรมการทำงานของทุกคนในองค์กร

เพราะการ 'ปกป้องวันนี้' ย่อมดีกว่าการ 'แก้ไขวันพรุ่งนี้' ที่อาจสายเกินไป ทุกวินาทีจึงมีค่าเกินกว่าจะ "รอ หรือ แค่ลอง"

หากคุณกำลังมองหาที่ปรึกษา หรือกำลังหาโซลูชันด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่เชื่อถือได้ 1-to-All พร้อมเป็นพันธมิตรที่คุณไว้ใจได้

เรามีทีมผู้เชี่ยวชาญและโซลูชันที่ได้มาตรฐาน ครอบคลุมทั้งการ ป้องกัน – เฝ้าระวัง – รับมือ เพื่อให้หน่วยงานและองค์กรของคุณ ก้าวทันทุกความเสี่ยงในโลกไซเบอร์

อย่าลืมว่า! การป้องกัน...คือการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด เพราะมันคือรากฐานของความเชื่อมั่นทั้งองค์กร

 

#Cybersecurity #GeopoliticalConflict #1toAll

 
Alex Alun